ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ว่านกีบแรด, กีบม้าลม, เฟิร์นกีบแรด
ว่านกีบแรด, กีบม้าลม, เฟิร์นกีบแรด
Angiopteris evecta (G.Forst) Hoffm.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Marattiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Angiopteris evecta (G.Forst) Hoffm.
 
  ชื่อไทย ว่านกีบแรด, กีบม้าลม, เฟิร์นกีบแรด
 
  ชื่อท้องถิ่น โด่คเว่โข่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ว่านกีบแรด(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ขนาดเล็กลงหัว ลำต้นมีความสูงประมาณ .50 – 1 เมตร
ใบ จะมีเป็นสีเขียว มีลักษณะเป็นรูปไข่เล็กเรียวยาวประมาณ 5 ถึง 15 ซม. และกว้างประมาณ 1.5 – 3 ซม. แต่ถ้ามองดูไกล ๆ จะมีลักษณะคล้ายปรงป่ามาก ก้านใบยาว
หัว จะมีลักษณะคล้ายกับกีบเท้าของแรดหรือกระบือ หัวนั้นจะเป็นสีน้ำตาลแก่ แต่ถ้าหักหัวดูภายในเป็นสีเหลืองเหมือนขมิ้น และมีรสเย็นฝาด[1]
 
  ใบ ใบ จะมีเป็นสีเขียว มีลักษณะเป็นรูปไข่เล็กเรียวยาวประมาณ 5 ถึง 15 ซม. และกว้างประมาณ 1.5 – 3 ซม. แต่ถ้ามองดูไกล ๆ จะมีลักษณะคล้ายปรงป่ามาก ก้านใบยาว
 
  ดอก -
 
  ผล หัว จะมีลักษณะคล้ายกับกีบเท้าของแรดหรือกระบือ หัวนั้นจะเป็นสีน้ำตาลแก่ แต่ถ้าหักหัวดูภายในเป็นสีเหลืองเหมือนขมิ้น และมีรสเย็นฝาด
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- โคนก้านใบ ที่อยู่ใต้ดิน ต้มน้ำดื่มแก้อาการตัวบวม(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เหง้า สับแล้วตากแห้ง แล้วนำมาบดผสมน้ำผี้งเดือนห้า พริกไทย ดีปลี ปั้นเป็นลูกกลอนรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง(คนเมือง)
ยอดอ่อน ทุบแล้วนำไปต้ม เอามาประคบหัวเข่า แก้อาการปวด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ใบ ใช้ใบแก่และสด ๆ รักษาอาการไอ นอกจากนี้ใบอ่อน ๆ ยังใช้เป็นผักกินได้
หัว ใช้กินรักษาอาการไข้ ปรุงเป็นยารักษาพิษตานซางของเด็ก อาการอาเจียน เป็นยาสมานรักษาอาการท้องร่วง ส่วนมากจะใช้คู่กันไปกับว่านร่อนทอง
ราก ใช้ห้ามเลือด[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นในบริเวณริมห้วยตามภูเขาสูงทางภาคเหนือ
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง